ตำราประกอบโครงการปลูกต้นไม้เพื่อการอาชีวะบำบัดตามหลักสมดุลระบบนิเวศสำหรับบุคคลออทิสติก

งค์ความรู้ส่วนที่ ๑ สำหรับผู้ปกครองและบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ ความรู้เบื้องต้น เรื่อง เทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติก

@ความเข้าใจเบื้องต้น

เนื่องจากปัจจุบันมีเทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติกมากมายหลายสำนักคิดหลายสำนักปฏิบัติ เป็นเรื่องยากมากถ้าจะต้องใช้เทคนิคการสอนของสำนักคิดสำนักปฏิบัติสำนักใดสำนักหนึ่งไปสำนักเดียว เพราะยังเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปกครองและบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกของเราจะลึกซึ้งในเทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติคเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งไปสักหนึ่งเทคนิคอย่างแท้จริง ผู้ปกครองและบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกเมื่อได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมเทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติกเทคนิคใดๆมา เช่น ABA  ฟล์อไทม์ ฯลฯ อาจจะต้องรู้จักจะเอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบุคคลออทิสติกแต่ละบุคคลในความดูแลของตนด้วยความรอบครอบด้วยวิจารณญาณของตนเองโดยยังไม่มีมาตรฐานจากหน่วยงานใดๆรองรับในกรณีของบุคคลออทิสติก

ดังนั้นในเบื้องต้น เทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติก ง่ายๆ คือ  จับมือ จับนิ้ว จับแขน จับตัว จับขา วางท่า ให้ทำให้ถูก  สอนตัวต่อตัว สอนเป็นทีม สอนอย่างเข้มข้น สอนภาษา สอนภาษานามธรรม สอนอย่างเป็นทางการ สอนอย่างไม่เป็นทางการ สอนอย่างมีการวางแผน สอนอย่างไม่มีการวางแผน ฯลฯ

@หลักการพื้นฐานของการอาชีวะบำบัดสำหรับบุคคลออทิสติกในบริบทของวิชาชีพเกษตรกรรมพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศ

หมายถึง การนำกิจกรรมในกระบวนการผลิตพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศ มาใช้เป็นกิจกรรม เพื่อการบำบัดกลุ่มอาการออทิซึ่ม ซึ่งจะทำให้บุคคลออทิสติกได้รับทั้งการบำบัดและการฝึกวิชาชีพเกษตรกรรมพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศ ไปด้วยในขณะเดียวกัน เช่น กิจกรรมการร้อยลวดกระถาง ที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือ ต้องใช้แรงกดของข้อนิ้วมือ ก็จะเป็นการกระตุ้นประสาทการรับรู้เรื่องแรงกดทับแรงดึงแรงดันของข้อต่อของนิ้วมือข้อมือ เป็นต้น

@กระบวนการผลิตพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศ

กระบวนการผลิตพืชพันธุ์ไม้ ประกอบด้วย ๑. กิจกรรมที่กระทำต่อวัสดุ และ ๒. กิจกรรมที่กระทำต่อพืชพันธุ์ไม้

๑.กิจกรรมที่กระทำต่อวัสดุ เช่น การร้อยลวดกระถาง การตักหรือเอามือกอบกาบมะพร้าวสับใส่กระถาง การฉีกกาบมะพร้าวที่ยังไม่ได้สับ ฯลฯ

๒.กิจกรรมที่กระทำต่อพืชพันธุ์ไม้ เช่น การใช้กรรไกรตัดต้นเดฟใบ การใช้มือและนิ้วเด็ดต้นเดฟใบออกเป็นท่อนๆ การใช้มือบิตะเกียง(หน่ออ่อนของกล้วยไม้ตระกูลหวาย) ฯลฯ

กิจกรรมที่กระทำต่อวัสดุและพืชพันุ์ไม้ดังกล่าวนี้  นำมาใช้เป็น "กิจกรรมที่กระทำต่อประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ" หรือ  "กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ"   ที่ บกพร่อง ของบุคคลออทิสติก โดยสามารถบูรณาการเอาการสอนพฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านภาษาและการสื่อสาร ที่บุคคลออทิสติกจะใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์และทำความเข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมได้ไปด้วยในขณะเดียวกัน

@กระบวนการจัดกิจกรรมการอาชีวะบำบัดสำหรับบุคคลออทิสติกในบริบทของวิชาชีพเกษตรกรรมพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศ"  ๗ ขั้นตอน ดังนี้

๑) กำหนด ระบบประสาทการรับรู้เป้าหมายที่ต้องการบำบัดหรือพัฒนา ของบุคคลออทิสติกคนนั้นๆ

๒) กำหนด กิจกรรมที่จะกระทำต่อระบบประสาทการรับรู้ ที่กำหนดนั้นๆ

๓) กำหนด ขั้นตอน(แตกงาน-Task analysis) ของกิจกรรม นั้น

๔) กำหนด วัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับขั้นตอนของกิจกรรม ใน ข้อ ๓.

๕) กำหนด "ภาษา"/คำศัพท์/คำสั่ง/ฯลฯ ที่จะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนที่กำหนด ของกิจกรรมนั้น

๖) กำหนด เกณฑ์ (ในเบื้องต้นใช้เกณฑ์ "ทำได้/ไม่ได้") บนฐานของ เทคนิคการสร้างพฤติกรรมใหม่ ๗ เทคนิค

๗) กำหนด แผนของ "ช่วงเวลา/เวลา" ลงภาคปฏิบัติจริง/ทำจริง ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลออทิสติกคนนั้นๆ

ทั้ง ๗ ขั้นตอนนี้ จะเป็นกระบวนการที่นำไปใช้ในการจัดทำ "ใบงาน" สำหรับผู้ปกครองและบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก

@รุป

องค์ความรู้ในส่วนนี้ เป็นหน้าที่ของบุคลากรครูผู้ฝึกสอนบุคคลออทิสติกของสถานศึกษา-สถานฝึกอาชีพ/วิชาชีพนั้นๆ จะต้องนำไปย่อยให้เป็นภาษาง่ายๆ ที่ ผู้ปกครองบุคคลออทิสติกเข้าใจได้ รวมทั้งบุคลากรครูผู้ฝึกสอนบุคคลออทิสติกของสถานศึกษา-สถานฝึกอาชีพ/วิชาชีพนั้นๆ จะต้องรับภาระงานเป็นที่ปรึกษาของผู้ปกครองบุคคลออทิสติกด้วย ฉะนั้นหากผู้ปกครองบุคคลออทิสติกที่เข้าร่วมโครงการไม่เข้าใจตรงไหนก็ให้สอบถามหรือปรึกษาหารือกับบุคลากรครูผู้ฝึกสอนลูกหลานออทิสติกของตนได้