สถาบันวิจัยออทิสซึ่มในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัย

สถาบันวิจัยออทิซึ่ม:
จะประกอบด้วยศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อบุุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม ๓ ศูนย์ ได้แก่

๑.ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการแพทย์การบำบัดเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม

๒.ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการศึกษาเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม

๓.ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านสวัสดิการสังคมเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม
------------------------

๑. ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการแพทย์การบำบัดเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม มี @คลินิกพิเศษออทิสติกฯ สาธิต ในโรงพยาบาลที่มีโรงเรียนแพทย์เป็นภาคสนาม
โดยให้มีหน้าที่หลักในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการแพทย์การบำบัดเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม

ดังนี้

๑. ในส่วนที่เกี่ยวกับยา-สารเคมี-หัตถการทางการแพทย์

๑.๑ ต้องการให้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารขนาดของยาที่ใช้กับบุคคลออทิสติก และผลที่มีต่อพฤติกรรมทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์

๑.๒ ต้องการให้มีการคิดนวัตกรรมหัตการทางการแพทย์ที่จะใช้กับบุคคลออทิสติก เช่น การทำฟัน การเจาะเลือด ฯลฯ

๑.๓ ต้องการให้มีการคิดนวัตกรรมกระบวนการบริการคนไข้นอกและคนไข้ในที่สอดคล้องกับธรรมชาติของบุคคลออทิสติก

๒.ในส่วนที่เกี่ยวกับการบำบัดที่กระทำโดยนักบบำบัดและบุคลากรด้านการแพทย์การบำบัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่แพทย์

๒.๑ ต้องการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ในบริบทของคลินิก

๒.๒ ต้องการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ในบริบทของศูนย์อนุบาลเด็กเล็กในชุมชน

๒.๓ ต้องการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ในบริบทของห้องเรียน ๒ รูปแบบ;ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน

๒.๔ ต้องการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ในบริบทของบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน ฯลฯ

------------------------

๒.ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการศึกษาเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม ภาระงานของศูนย์นี้ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสำหรับบุคคลออทิสติก ครบทุกระดับและระบบการศึกษา ทั้งนอกและในระบบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนระดับอุดมศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีคณะศึกษาศาสตร์เป็นเจ้าภาพ ศูนย์จะแบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย ดังนี้

๑.ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลออทิสติกระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา (หรือการศึกษาระดับก่อนการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา) โดยเฉพาะหน้าเร่งด่วนต้องการให้วิจัยและพัฒนาเชิงระบบเรื่องห้องเรียน ๒ รูปแบบ;ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน ฝ่ายนี้มีโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย เป็นภาคสนาม

๒.ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลออทิสติกระดับการอาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะหน้าต้องการให้วิจัยเชิงกระบวนการในการจัดทำและบริหารหลักสูตรการฝึกอาชีพในบริบทของการอาชีวบำบัด สำหรับออทิสติกศักยภาพต่ำในวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่วัยทำงาน

๓.ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลออทิสติกระดับการอุดมศึกษา โดยเฉพาะหน้าต้องการให้วิจัยเชิงกระบวนการในการให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกศักยภาพสูงในวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่วัยทำงาน ที่สามารถเข้าเรียนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาร่วมกับนักศึกษาที่เป็นบุคคลปกติได้ แต่ยังคงมีปัญหาทางด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความไม่เข้าในบริบทต่างๆ ทางสังคม

--------------------------------


๓.ศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านสวัสดิการสังคมเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม

มี "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัย"(บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกสาธิต) เป็นภาคสนาม โดยให้มีหน้าที่หลักในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้  และนวัตกรรมทางด้านสวัสดิการสังคมเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิซึ่ม ที่สนองตอบต่อความต้องการจำเป้นพิเศษของบุคคลออทิสติกตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน เริ่มต้นมีคณะสังคมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ และคณะที่จะร่วมกันผลิตบุคลากรที่จะทำงานในหน่วยงานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เรียกว่า  "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน" ซึ่ง(อาจจะ) ได้แก่นักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(ออทิสติก) นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(ออทิสติก) นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์(ออทิสติก)

0813805043 อ.พรรณวดี คณะพยาบาล