คลีนิคพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วไปในชุมชน

ในทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑. ส่วนที่ต้องกระทำโดยผู้ประก
อบวิชาชีพแพทย์-แพทย์เท่านั้น ๒.ส่วนที่กระทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์การบำบัดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ส่วนที่ต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์-แพทย์เท่านั้น ก็คือ การวินิจฉัยโรค/อาการ การใช้สารเคมี(ยา)กระทำต่อร่างกายและหัตการทางการแพทย์(การผ่าตัด,การฉีดสารเข้าร่างกายฯลฯ) ส่วนที่กระทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์การบำบัดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ได้แก่ การฝึกพูดบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด พฤติกรรมบำบัด การกระตุ้นพัฒนาการประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ (SI) โภชนากากรบำบัด ฯลฯ บุคลากรทำการบำบัดต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ นักฝึกพูด นักกายภาพบำบัด นักพฤติกรรมบำบัด/นักจิตวิทยาคลีนิก [พวกนี้ส่วนใหญ่ก้จบมาทางคณะจิตวิทยา คณะเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ]

กล่าวสำหรับบุคคลออทิสติก อันดับแรกเลยก้ต้องได้รับก
รวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็น ออทิสติก จากนั้นก็จะต้องได้รับการติดตามจากแพทย์หากต้องมีการใช้ยา หรือวิเคราะห์พฤติกรรม (รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เชนเดียวกับคนปกติ)

ส่วนความผิดปกติแบบกลุ่มอาก
ารออทิซึ่ม ก็จะต้องไปรับการบำบัดกับนักบำบัดต่างๆ ใน ส่วนที่กระทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์การบำบัดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ได้แก่ การฝึกพูดบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด พฤติกรรมบำบัด การกระตุ้นพัฒนาการประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ (SI) โภชนากากรบำบัด ฯลฯ บุคลากรการบำบัดต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ นักฝึกพูด นักกายภาพบำบัด นักพฤติกรรมบำบัด/นักจิตวิทยาคลินิก ฯลฯ

ช่วงอายุแรกเกิดถึงก่อนถึงเ
กณฑ์เข้าโรงเรียน ๐-๖ ปี เป้นช่วงอายุที่จะอยู่กับโรงพยาบาล-บ้าน-ชุมชน และเป็นช่วงที่ ถ้ารู้ว่า เป็นออทิสติก และสามารถกระตุ้นพัฒนาของระบบประสาทการรับรู้ต่างๆ อย่างเข้มข้น และเก็บได้หมด ซึ่งในช่วงนี้จะเป้นการบำบัดล้วนๆ เพราะชีวิตคนปกติก็ไม่มีเรื่องอื่น-เล่น เป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นในช่วงอายุ ๐-๖ ปี/
๐-๑๐ ปี ออทิสติก ๑. จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และอาจต้องได้รับยาเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมการนอน(ออทิสติกมีปัญหาเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตในสมอง-ไม่นอนทั้งคืนติดต่อกันสองสามวันก็ยังได้ แต่คนดูแลคนเลี้ยงนี่แย่เลย) ฯลฯ เป็นระยะตามความเหมาะสม หรืออาจต้องได้รับยาประจำหากมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคชัก โรคภูมิแพ้ เป้นต้น รวมทั้งการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่นๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ๒. ต้องได้รับการบำบัดกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ กระตุ้นการเชื่อมโยงการทำงานของสมองพื้นที่ต่างๆ ด้วยกิจกรรมการบำบัดทางการแพทย์ที่กระทำโดยนักบำบัดต่างๆ ที่ไม่ใช่แพทย์

ฉะนั้น ณ วันนี้ เราแม้ไม่รุสาเหตุที่แน่นอน
แต่เราก็รู้ที่สำคัญๆ เกี่ยวกับออทิสติก จนสามารถจะสังเคราะห์ "ระบบจัดการ" ด้านต่างได้ครบทุกด้านแล้ว(ตามแผนที่ชีวิตบุคคลออทิสิตก) แต่ต้องเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญ ๐-๖ ปี หรือ ๐-๑๐ ปีแรกของมนุษย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ออทิสติก เป็นวัยทองของพัฒนาการ ที่หากผ่านไปแล้วก็แล้วเลยไม่หวนคืน ช่วงนี้เป้นช่วงที่ดีที่สุดของการแทรกแซงพัฒนาการ ซึ่งมันไม่มีอะไรมากเลย ก็คือ การกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ กระตุ้นการเชื่อมโยงการทำงานของสมองพื้นที่ต่างๆ ด้วยกิจกรรมการบำบัดทางการพทย์ที่กระทำโดยนักบำบัดต่างๆ ที่ไม่ใช่แพทย์ นั่นเอง

แต่การทำงานของบุคลากรทางกา
รแพทย์ทั้งในส่วนของผู้ประกอบวิชีพแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพนักบำบัด จะต้องกระทำการในบริบทของ "คลินิกในสถานพยาบาล/โรงพยาบาล" ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดหรือภายใต้การกำกับดุแลของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นภาระงาน-หน้าที่โดยตรงของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องจัดให้มีขึ้นซึ่ง "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลชุมชน" ที่มี "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลศูนย์ฯ" "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลจังหวัด" เป็นแม่ข่าย และมี "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลจิตเวช" เป็นที่ปรึกษา

@กระทรวงสาธารณสุขจึงควรจะต
้องเร่งจัดให้มีขึ้นซึ่ง "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลชุมชน" [ที่มี "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลศูนย์ฯ" /"คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลจังหวัด" เป็นแม่ข่าย และมี "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลจิตเวช" เป็นที่ปรึกษา] ขึ้นโดยเร็ว เพราะในช่วงอายุ ๐-๖ ปีก่อนเกณ์เข้าโรงเรียน การกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ สำคัญมาก และบุคลากรที่จะต้องทำหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์การำบัดแก่ประชากรออทิสติกในวัยนี้ (๐-๖ ปี) นั้นล้วนทำงานอยู่ในสถานพยาบาล/โรงพยาบาล/อนามัยตำบล แต่เพราะยังไม่มีการกำหนดภาระงานที่เฉพาะเจาะจงและกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงขึ้นมา จึงยังไม่บริการทางด้านการบำบัดแก่ประชากรออทิสติกอย่างเฉพาะเจาะจง ประกอบกับนักบำบัดต่างๆ จะรวมศูนย์อยู่ตามโรงพยาบาลพยาบาลใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดของประชากรออทิสติกในวัยนี้จึงตกหล่นพัฒนาในวัยทองนี้ไปอย่างน่าเสียดาย มีเป็นส่วนน้อยที่เข้าถึงบริการของนักบำบัด แต่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น นักรับพฤติกรรม(นักจิตวิทยาคลินิก) ชม, ละ ๕๐๐ บาท นักกิจกรรมบำบัดสำนักฟอล์ไทม์ ชม.ละ ๑,๒๐๐ บาท นักฝึกพูดบำบัด ชม., ๓๐๐-๕๐๐ บาท ฯลฯ ทั้งนี้โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาหมอหานักบำบัด กระทรวงสาธารณสุข จึงควรต้องกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องจัดให้มีขึ้นซึ่ง "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลชุมชน" โดยเร็ว

***สิ่งที่บุคคลออทิสติกและ
ครอบครัวต้องการจาก "คลีนิคพิเศษออทิสติกในโรงพบาลทั่วไปในชุมชน" คือ อะไรบ้าง ตอบตรงนี้ได้ก็ออกแบบองค์ประกอบของคลินิกพิเศษนี้ได้อย่างที่สามารถสนองตอบต่อคงามต้องการจำเป็นพิเศษของกลุ่มออทิสติกได้

@ช่วงอายุ ๐-๖ ปี ๑. การวินิจฉัยโรค/
การใช้ยา-หัตการทางการแพทย์ (โดยแพทย์) ๒.การประเมินระดับพัฒนาการองประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ (โดยนักบำบัด) ๓.ข้อเสนอแนะว่าควรกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบใดก่อน-ระบบใดบ้าง ๔. แผนการจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการในข้อ ๓

@ช่วงอายุ ๓-๖ ปี อาจจะมีที่เอาเข้าสถานอนุบา
ลเด็กอ่อนหรือโรงเรียนอนุบาล ตรงนี้จะคาบเกี่ยวทับซ้อนกันระหว่างกิจกรรมการบำบัดทาการแพทย์กับกิจกรรมการเรียนการสอนทางการศึกษา แต่น้ำหนักจะเอียงมาทางด้านการบำบัด ที่ต้องการคือ แผนการจัดกิจกรรมการบำบัดเพื่อการกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ที่เข้ากันได้กับบริบทของงเรียนอนุบาล -หรือบริบทของ "ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้านผระดับอนุบาล)"

@ช่วงอายุ ๖-๑๙ ปี ช่วงนี้ บุคคลออทิสติกจะอยู่ในระบบโ
รงเรียนเป็นส่วนใหญ่ถ้า...ถ้า "กลไก" ตามออทิสิตกรดแมบอีกกลไกหนึ่งได้ถูกบรรจุเข้าไปในโครงสร้างระบบการศึกษาของรัฐ-สังคมไทย นั่นคือ ห้องเรียน ๒ รูปแบบ**** ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน****ช่วงนี้บุคคลออทิสติกก็เช่นเดียวกับบุคคลปกติ คือ ใช้ชีวิตอยู่ระหว่างบ้าน/โรงเรียน/ชุมชน....กิจกรรมเพื่อการยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกในช่วงนี้ทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเพราะมีหลายบริบทเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจากประสบการณ์ตรงจากผุ้ปกครองบุคคลออทิสติกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องการจากสถานพยาบาลระดับโรงพยาบาล....คือ....
๑. ในส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพแ
พทย์ ๑). การเป็นผู้ป่วยนอกเวลาไปรับยาประจำ การตรวจเลือด ต้องมีกระบวนการพิเศษไม่งั้นจัดการไม่ได้ เช่น ต้องไม่ให้รอคิวนาน เพราะออทิสติกขี้โมโหขี้รำคาญรอนานไม่ได้ ถ้าจะให้รอนานต้องมีกิจกรรมให้ทำ จึงจะไปรอร่วมกับคนไข้ปกติมากมายไม่ได้ การเจาะเลือดดูระดับยาบางตัวบางทีต้องใช้พนักงานเปลผู้ชายจังถึง ๖ คน จึงเจาะเลือดได้ เป็นต้น ๒). การเข้าแอดมิด-เข้าเป็นผู้ปวยในเมื่อเวลาป่วยหนัก ก็ต้องมีกระบวนการจัดการที่มีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป้นพิเศษของความผิดปกติแบบออทิสติกอยู่ด้วย เช่น อาจต้องมีการจัดกิจกรรมระหว่างที่ป่วยพักพื้นอยู่ในสถานพยาบาล อาจต้องมีการจัดพยาบาลประจำเพราะคลาดสายตาไม่ได้ บางทีเข้า ร.พ. คุณแม่ลำบากมากเพราะพยาบาลไม่เข้าใจไม่ช่วยให้ญาติดูแลเองทุกอย่าง ถ้ามีคุณแม่คนเดียวเข้าห้องน้ำยังจะไม่ได้ เพราะไม่รุว่าลูกชายจะกระโดดไปกระชากคนไข้หนักเตียงข้างๆ เมื่อไหร่ ฯลฯ ๓). เกี่ยวกับยาที่ช่วยปรับการนอนให้เป็นปกติ ออทิสติกมีปัญหาเรื่องการนอน จึงเป้นเรื่องที่ต้องพึ่งแพทย์ในเรื่องนี้ให้ช่วยจ่ายและบริหารยาปรับการนอนให้เป้นปกติ ซึ่งเป้นเรื่องละเอียดอ่อนมากเพราะยาปรับการนอน(ยาช่วยให้หลับ)แต่ละตัวมีผลข้างเคียงและมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลออทิสติกมากว่าคนปกติ และมีการดื้อยาได้ ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนยาเป็นระยะที่ต้องการการติดตามผลที่มีต่อพฤติกรรมอย่าใกล้ชิด
๒. ในส่วนของบุคลากรที่ไ
ประกอบวิชาชีพแพทย์ หรือ นักบำบัด เพื่อการกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ และการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จากประสบการณ์ตรงของผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในกลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มออทิสติกเด็กโตวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ พบว่า ต้องการการประเมิน/การวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งทางด้านอารมณ์(หัวเราะ โมโห อารณ์ทางเพศ)เพื่อการออกแบบกิจกรรมบำบัดในบริบทของห้องเรียน/โรงเรียน/บ้านที่สามารถจะเสริมหรือบูรณาการกิจกรรมด้านการเรียนการสอนทางการศึกษาด้วย

@ช่วงอายุ ๑๙ ปี ขึ้นไปจนถึงวัยชรา ก็น่าจะเป็นเรื่องของการเป็
นผู้ป่วยนอกผู้ป่วยในและหัตการทางการแพทย์ โดยเฉพาะการทำฟัน ที่ก็คงต้องมีกระบวนการจัดการแบบพิเศษที่สอดคล้องกับความผิดปกติแบบกลุ่มอาการออทิซึ่มต่อไป ซึ่งในช่วงอายุนี้ประสบการณ์ตรงของผู้ปกครองบุคคลออทิติกในกลุ่มยังมีไม่มากนัก ต้องติดตามกันต่อไป

ดังนั้นบนพื้นฐานความต้องกา
รของกลุ่มออทิสติก ดังกล่าว คิดว่า "คลินิกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น"-สมมติ เอาระดับโรงพยาบาลศูนย์ก่อนจะให้โรงพยาบาลศูนย์เป็นแม่ข่าย.....น่าจะประกอบด้วย....
๑.คลินิกตรวจผู้ป่วยนอก/
ผู้ป่วยใน/รวมทั้งการทำฟัน-บุคลากร ได้แก่ แพทย์,ทันตแพทย์-พยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาล (?)
๒.ส่วนของการบำบัด;ฝึกพูด-ป
รับพฤติกรรม-ฟลอไทม์-กายภาพ-กิจกรรมบำบัด;กระบวนการประเมินระดับพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ฯลฯ -บุคลากร ได้แก่ นักพฤติกรรมบำบัด/นักจิตวิทยาคลินิก, นักกายภาพบำบัด,นักกิจกรรมบำบัด/ครูการศึกษาพิเศษ,พยาบาลวิชาชีพ,นักโภชนาการบำบัด เป็นต้น

โดยอันดับแรกให้โรงพยาบาลศูน
ย์มีให้ครบ แล้วค่อยต่อยอดลงโรงพยบาลชุมชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ-งบประมาณนำร่องจะเอาจาก สปสช. ได้หรือไม่? ต่อไปให้ รพ.ยื่นของบประมาณปกติ