โครงการฝ่าย(ศูนย์บริการ) บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่น(๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)

ประมวลหลักคิด;
๑.หลักคุณภาพคู่คุณธรรม
คุณภาพของสังคมของสังคมมนุษย์ ก็คือ คุณธรรม ความมั่นคงของมนุษย์ ก็คือ บ้าน

ด้วยเพราะธรรมชาติของบุคลออทิสติก ทำให้บุคคลออทิสติกจะต้องมี ๒ บ้าน ได้แก่ บ้านส่วนตัวของครอบครัวของวกเขาและ บ้านส่วนรวมของกลุ่มของพวกเขาในชุมชนที่(ให้)เรียกว่า "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน(๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)" อันเป็น "สวัสดิการสังคม" ซึ่งรัฐจะต้องจัดให้อย่างมี"คุณภาพ" ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของบุคคลออทิสติกได้

กล่าวสำหรับกลุ่มออทิสติก "คุณภาพ" ของ "บ้าน" ที่สามารถตอบสนองต่อความต้อ
งการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของบุคคลออทิสติกได้นั้น ก็คือ "คุณภาพ" ของ การบูรณาการ-การบริหารจัดการแบบ "บ้าน+ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต+ศูนย์การฝึกอาชีพ+ศูนย์การบำบัด" เข้าไว้ด้วยกัน และในกรณีของจังหวัดขอนแก่น ก็ต้องเป็น "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่น" จะเป็น "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน(๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)" หลังแรก

๒.หลักการประสานใช้ทรัพยากร
ท้องถิ่น/ในพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของบุคคลออทิสติก
กระบวนการบริหารจัดการบ้านพิทักษ์ฯ จะต้องมี การประสานใช้ทรัพยากรในท้อง
ถิ่นในทุกมิติที่มี มาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ต่อ การพัฒนาศักยภาพ และ คุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติก เช่น การประสานกับกองทัพในพื้นที่จัดกิจกรรมอาชาบำบัดก็ดี กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพการเคลื่อนไหวของบุคคลออทิสติกด้วยการฝึกท่ากายบุคคลของนักศึกษาวิชาทหารก็ดี การประสานกับการศึกษานอกโรงเรียน (ก.ศ.น.)เพื่อการจัดการศึกษานอกระบบโดยเอาบ้านพิทักษ์ฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับบุคคลออทิสติกสมาชิกของบ้านพิทักษ์ฯ ที่ต้องการวุฒิทางการศึกษาเพื่อใช้ในการสมัครเข้าทำงานก็ดี เป็นต้น

๓.หลักการพัฒนาแบบคู่ขนานเพื่
อบุคคลออทิสติก
จะต้องพัฒนาระบบระเบียบวิธี
การด้านต่างๆ ที่ยังไม่มีอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มบุคคลออทิสติกให้เกิดมีขึ้น คู่ขนานล้อกันไปกับที่รัฐและสังคมมีให้กับกลุ่มบุคคลปกติ เช่น รัฐมีกรอบอัตราบุคลากรด้านต่างๆ ให้กับกลุ่มคนปกติ รัฐก็ต้องมีกรอบบุคลากรด้านต่างๆ ให้กับกลุ่มคนออทิสติกด้วย ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ กรอบอัตราบุคคลากรที่เฉพาะเจาะจง ของ "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน (๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)", กระบวนการพัฒนาบุคลากรที่มีวิธีการงบประมาณรองรับอย่างเฉพาะเจาะจง, กระบวนการพัฒนาบุคคลออทิสติกอย่างรอบด้านเป็นรายบุคคลที่มีระเบียบปฏิบัติและงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรองรับ ฯลฯ

๔. หลักการพิทักษ์สิทธิและการเ
คารพซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
กระบวนการบริหารจัดการทุกด้
าน ของ "บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน (๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)" จะต้องไม่ละเมิดซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของบุคคลออทิสติกและต้องพิทักษ์ไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์สูงสุดของบุคคลออทิสติกผู้เป็นสมาชิก เช่น มีกระบวนการเฝ้าระวังการล่วงละเมิดทางเพศและการถูกระทำด้วยความรุนแรง ทั้งจากบุคลากร, จากสมาชิกที่เป็นบุคคลออทิสติกด้วยกัน และจากการทำร้ายตัวเองของบุคคลออทิสติกเอง ด้วยการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมีเวรตรวจตราการจัดกิจกรรมทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นระยะๆ มีการบริหารจัดการชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้านที่เคารพ "ความเป็นส่วนตัว" ของบุคคลออทิสติก มีกระบวนการกำกับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกที่เป็นสมาชิกอยู่ประจำของบ้าน ทั้งด้านความสะอาดและด้านปัจจัย ๔ เป็นต้น

ประมวลโครงการนำสู่ภาคปฏิบัติ;
จากหลักความคิดชี้นำ ๔ ข้อข้างต้น การพัฒนาและทำให้เกิดมีขึ้น
จริง ซึ่ง บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่น จะต้องมีโครงการเพื่อนำลงสู่ภาคปฏิบัติจริง ๕ โครงการ ดังนี้
๑/
โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่
๒/
โครงการพัฒนาด้านศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติก
๓/
โครงการพัฒนาด้านศักยภาพบุคลากร
๔/
โครงการพัฒนาด้านระบบบริหารจัดการ "บ้านพิทักษ์ฯ" เพื่อการเป็น "กลไก"/"หน่วยงาน" ปกติในโครงสร้างของรัฐ
๕/
โครงการพัฒนา กฎ เกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และ วิธีการงบประมาณสำหรับบ้านพิทักษ์ฯ เพื่อเป็นกฎหมายระดับต่างๆ รองรับการเป็น "หน่วยงาน" ในโครงสร้างของรัฐเพื่อเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติ

๑/
โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่
แต่เดิมที่ออกแบบไว้แต่แรกน
ั้น ตัวอาคารจะเดินติดต่อถึงกันได้ทุกอาคารเพื่อสะดวกในการดูแล และจะปิดล็อกได้เป็นส่วนๆ เพื่อความปลอดภัย ระเบียง รั้ว และวัสดุที่ใช้จะคำนึงถึงความปลอดภัย เน้นความแข็งแรงของโครงสร้างและความทนทานของวัสดุที่เลือกใช้ ที่จะต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของออทิสติกเป็นอย่างสูง ไม่ติดตั้งด้วยกระจกหรือวัสดุที่แตกเปราะง่ายเป็นอันตราย มีพื้นสันทนาการ ออกกำลัง เล่นกีฬา เรียนรู้ มีห้องปรับพฤติกรรม ห้องส่วนตัว บางห้องอาจมีห้องน้ำในตัวเพราะบางคนอาจต้องฝึกการเข้าห้องน้ำ การทำความสะอาดห้องน้ำ ฯลฯ
หมายเหตุ:โครงการที่เทศบา
ลเขียนยังขาดอาคารบ้านพัก "พ่อบ้าน" ผู้ดูแลบ้านตลอด ๒๔ ชม. และอาคารทั้งหมดจะมี ๓-๔ อาคารติดต่อถึงกันหมด/ตามแปลน [หมายถึงแต่เดิมออกแบบไว้ให้มีบ้านพักของผู้ปกครองบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกับบ้านพิทักษ์ฯ เลียนแบบโรงเพยาบาลชุมชน ที่บ้านพักผู้อำนวยการโรงพยาบาลอยู่ในรั้วเดียวกับโรงพยาบาล เพื่อที่ว่าจะมีผู้รับผิดชอบตลอด ๒๔ ชม.]

@ดัดแปลงสถานที่สำหรับบุคคลออทิสติดแยกชาย (5คน)และหญิง(3คน)พร้อมที่พักเจ้าหน้าครูเวร (ทีมละ 3คน)
*บุคคลออทิสติกชาย-ห้องครูลำปางหน้าห้องน้ำ-ซอยได้ ๕ ห้อง เตียงก่ออิฐ ฝากั้นคานเหล็กไม้จริงเก่า กั้นเป็นห้องนอน ๕ ห้อง พร้อมห้องอเนกประสงค์ที่เป็นห้องพักครูเวรได้ด้วย
*บุคคลออทิสติกหญิง-ห้องครูจุกติดกับโรงอาหาร-ซอยได้ ๔ ห้อง เตียงก่ออิฐ ฝากั้นคานเหล็กไม้จริงเก่า กั้นเป็นห้องนอน ๕ ห้อง พร้อมห้องอเนกประสงค์ที่เป็นห้องพักครูเวรได้ด้วย
*ห้องอาบน้ำครบวงจรบุคคลออทิสติกชาย-อยู่ด้านหลังห้อง ผอ.ออกแบบอย่างสวยงาม ให้อาบได้ทีละ ๓-๕ คน มีระบบการทำน้ำอุนที่ปลอดภัย
*ห้องอาบน้ำครบวงจรบุคคลออทิสติกหญิง-อยู่ด้านหลังห้องนอนบุคคลออทิสติกหญิงต่อด้วยพื้นที่ซักล้าง ออกแบบอย่างสวยงาม ให้อาบได้ทีละ ๓-๕ คน มีระบบการทำน้ำอุ่นที่ปลอดภัย
*มีระบบกล้องวงจรปิด ติดทุกที่ที่มีกิจกรรมของบุคคลออทิสติก(ทุกห้อง) เพื่อการประเมินบุคคลออทิสิตกและกระบวนการสอนของบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง และเคเบิ้ลทีวีเพื่อเอาช่องที่มีสาระมาสอนบุคคลออทิสิตกกลุ่มเป้าหมาย
*คุรุภัณฑ์ถาวร/เฟอนิเจอร์/เครื่องนอน/เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม/เครื่องซักล้าง-เครื่องซักผ้า-เตาแกส-ถ้วยชาม-ช้อส้อมแก้วน้ำกระติกน้ำเย็นกระติกน้หร้อน ฯลฯ
*คุรุภัณฑ์สิ้นเปลือง/น้ำยาซักผ้า ถูพื้น ล้างชาม สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ฯลฯ
งบประมาณทั้งหมดประมาณการณ์ น่าจะอยู่ ๑.๒ ล้านบาท


๒/
โครงการพัฒนาด้านศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติก
ประเภทของสมาชิก
บุคคลออทิสติกที่เป็นสมาชิก
ของบ้านพิทักษ์ฯ จะมีอยู่ ๒ ประเภท คือ สมาชิกประจำ และ สมาชิกแบบไป-กลับ
-สมาชิกประจำ คือ สมาชิกที่บ้านพิทักษ์ฯ จะต้องรับผิดชอบตลอด ๒๔ ช.ม./จำนวน ๑-๕ คน (เพราะยังเป็นโครงการทดลอง/
วิจัย/นำร่อง)
-สมาชิกแบบไป-กลับ คือ สมาชิกที่มารับบริการแบบไปก
ลับ ซึ่งบ้านพิทักษ์จะรับผิดชอบตามโปรแกรมที่เข้ารับบริการ
การดูแลบุคคลออทิสติก
บุคคลออทิสติก สมาชิก ของ บ้านพิทักษ์ฯ ที่อยู่ประจำทุกคน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ที่จะจัดทำเอกสารบันทึกติดามความก้าวหน้าด้านต่างๆ ทุกด้าน รับผิดชอบอย่างเฉพาะเจาะจง [แบ่งเป็นทีม:ทีมรับผิดชอบส
มาชิกที่ไป-กลับ, ทีมรับผิดชอบสมาชิกที่อยู่ประจำ โดยในทีมก็มีการรับผิดชอบเป็นรายบุคคลอีกชั้นหนึ่ง]
คุณสมบัติของสมาชิก
สมาชิกทั้ง ๒ ประเภท จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑/อายุ ๑๒ ปีขึ้นไป
๒/
ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์;ว่าเป็นบุคคลออทิสติกหรือใกล้เคียง
๓/
สำหรับสมาชิกประจำมีความจำเป็นที่ผู้ปกครองดูแลไม่ได้หรือไม่มีผู้ปกครองดูแล/ป่วย-ตาย-สาบสูญ-ยากจน
อยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการของบ้านพิทักษ์ฯ บนหลักการที่ว่า "พิจารณารับผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลก่อน หากไม่มีหรือมีไม่พอกับจำนวนที่ต้องการรับจึงพิจารณารับผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาล" ที่ไม่อยู่ในเขตก็ให้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในเขต
๕/
พิจารณารับจำนวนไม่เกินกว่าศักยภาพของบ้านพิทักษ์ฯ ที่จะให้การดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีปริมาณบุคคลออทิสติกเพิ่มขึ้นในเขตให้บริการต้องพิจารณาสร้างบ้านพิทักษ์ฯ เพิ่ม
กระบวนการจัดการกับสมาชิก
๑/จัดทำ ประวัติบุคคล
๒/
จัดทำ การประเมินศักยภาพรายบุคคลด้านต่างๆ
๒.๑/ด้านภาษาและการสื่อสาร พูดได้ไม่ได้ สื่อสารได้ไม่ได้ รู้/
พูด ได้กี่คำกี่ประโยค เข้าใจภาษานามธรรมได้ไม่ได้ ได้มากได้น้อย
๒.๒/
ด้านประสาทการรับรู้และประสานสัมพันธ์กัน -แสงสี-รส-สัมผัส-กลิ่น -การทรงตัว -การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ -ความดึงเกร็งแข็งความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ -ท่าทางการเคลื่อนไหว -ท่าทางหยิบจับ -การมอง -การกวาดสายตา
๒.๓/
ด้านการช่วยเหลือตัวเอง ในชีวิตประจำวัน-การกิน นอน อาบน้ำแปรงฟัน ขับถ่าย การแต่งตัว หวีผมตัดเล็บ งานบ้าน
๒.๔/
ด้านการรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคม รู้จักพ่อแม่ รู้ว่าใครเป็นใครหรือไม่
๒.๕/ด้านวิชาการ การพูด การเขียน การอ่าน การคิดคำนวณ การเข้าใจธรรมชาติรอบตัว /วิทยาศาสตร์ ความแตกต่างของสรรพสิ่ง / เป็นอย่างไร อยู่ในระดับช่วงชั้นไหน/
อยู่ในระดับใด
๓/
จัดทำหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกในบริบทของการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกบ้านพิทักษ์ฯ [หลักสูตรเวลาราชการ คู่ขนานกับ หลักสูตรนอกเวลาราชการ, หลักสูตรบ้านพิทักษ์ฯ คู่ขนานกับ หลักสูตรบ้านบุคคลออทิสติก ]

หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก (พี่A)

@ชุดวิชาการพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับบุคคลออทิสติก (พี่ A)

@ชุดวิชาการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลออทิสติก (พี่A)

@ชุดวิชาการพัฒนาบุคลภาพการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับบุคคลออทิสติก (พี่A)

@ชุดวิชาเกษตรกรรมพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศเพื่อการอาชีวะบำบัดสำหรับบุคคลออทิสติก(พี่A)

@ชุดวิชาการพัฒนาทักษะสันทนาการและสุนทรียศิลป์สำหรับบุคคลออทิสติก (พี่A)

๔/จัดทำ แผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual Developmental Potential Plan / IDP) และ แผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล ( Individual Implementation Developmental potential Plan / IIDP) ของ บุคคลออทิสติก ตาม หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกในบริบทของการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกบ้านพิทักษ์ฯ

@ ๕ ชุดวิชา = ๕ ฐานฝึก= ๕ ทีมครูฝึก(/บุคลากรผู้สอนนักพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตมนุษย์(ออทิสติก)) ทีมละ ๓ คน [รวมทีมเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกสอน/นักพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตมนุษย์(ออทิสติก) ๕ ฐานฝึก ๕ ทีมครูฝึก ทีมละ ๓ คน ๑๕ คน ค่าตอบแทน ๑๕,๐๐๐ บาท/คน/เดือน รวม ๒๒๕,๐๐๐ บาท/เดือน ๒,๗๐๐,๐๐๐-.บาท/ปี]=ค่าตอบแทนบุคลากรผู้สอน-นักพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตมนุษย์(ออทิสติก)=ค่าบริหารหลักสูตร
[@@เฉพาะชุดวิชาเกษตรกรรมพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักสมดุลระบบนิเวศเพื่อการอาชีวะบำบัดสำหรับบุคคลออทิสติก(พี่A) งบประมาณทั้งหมดประมาณการณ์ น่าจะอยู่ ๒.๕ แสนบาท][@@ อีกสี่ชุดวิชาที่เหลือ งบประมาณทั้งหมดประมาณการณ์ น่าจะอยู่ ๑.๕ แสนบาท ][จะเป็นค่าทำตำรา ค่าที่ปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญสาขาทางการแพทย์การบำบัด ที่จะประเมินและออกแบบกิจกรรมพัฒนาการระบบประสาทการรับรู้ระบบต่างที่บกพร่องของบุคคลออทิสิตกแต่ละบุคคล]


๓/
โครงการพัฒนาด้านศักยภาพและคุณภาพชีวิตบุคลาก
@คุณสมบัติบุคลากรที่ทำงานก
ับบุคคลออทิสติก [คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน]
ด้านองค์ความรู้ :บุคลากรที่ทำงานกับบุคคลออท
ิสติกและเจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนจะต้องมีความรู้และความเข้าใจ (ไม่รู้ไม่เข้าใจไม่ได้) ในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
๑.ธรรมชาติของบุคคลออทิสติก

๒.หลักการพื้นฐานในการสอนบุ
คคล "สอนตัวต่อตัว สอนอย่างเข้มข้น สอนภาษา สอนภาษานามธรรม และสอนเป็นทีม"
๓.กระบวนการบูรณาการกิจกรรม
การบำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์เข้ากับกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
๔.เทคนิคการสอนในบุคคลออทิส
ติก เช่น เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมหรือทฤษฎี ABA-พฤติกรรมบำบัด, ทฤษฎีฟอล์ไทม์, ทฤษฎี SI, ฯลฯ
๕.หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคค
ลออทิสติก (Autistic Individual Parallel Curriculum), แผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual Developmental Potential Plan / IDP, แผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคลออทิสติก (Individual Implementation Developmental Potential Plan (IIDP))
๖. สิทธิประโยชน์ของบุคคลออทิส
ติกและครอบครัว
๗.จรรยาบรรณบุคลากรที่ทำงาน
กับบุคคลออทิสติก/จรรยาบรรณเจ้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
๘.การฝึกอาชีพในบุคคลออทิสต
ิกในบริบทของบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
ด้านสุขภาพ :ด้านร่างกายต้องมีสุขภาพแข็
งแรง ส่วนทางด้านจิตใจก็ต้องมีความอดทนอดกลั้นสูงต่อการทำงานที่ยืดเยื้อยาวนานกับบุคคลออทิสติกระดับอายุวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมอย่างรอบด้าน
ด้านทักษะการทำงาน : การทำงานกับบุคคลออทิสติกต้
องการทักษะการทำงานดังต่อไปนี้เป็นพิเศษ
๑.การประสานใช้ทรัพยากรท้อง
ถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ให้บุคคลออทิสติกได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การประสานให้การศึกษานอกโรงเรียนมาจัดการศึกษาให้บุคคลสมาธิสั้นหรือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(แอลดี)ที่สามารถใช้หลักสูตร ก.ศ.น.ได้, ประสานฝ่ายกิจการพลเรือนของกองทัพบกในพื้นที่มาช่วยจัดกิจกรรมพัฒนา, ประสานหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่มาดูและและเป็นปรึกษาทางด้านสุขภาพของบ้านพิทักษ์ฯ เป็นต้น
๒.การมีความคิดริเริ่มสร้าง
สรรค์และการประยุกต์ใช้ เพื่อการจัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะด้านต่างๆแก่บุคคลออทิสติก
๓.มีจิตวิทยาและมุ่งมั่นอดท
นมากเป็นพิเศษในการดำเนินกิจกรรมเพื่อจูงใจบุคคลออทิสติกให้ทำกิจกรรมที่ต้องการ เพราะออทิสติกวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่จะมีปัหาเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ชอบจะทำกิจกรรมอะไรใหม่ๆ และตัวใหญ่จะถูกกระตุ้นให้ทำกิจกรรมที่พึงประสงค์ยากมาก มีอารมณ์หงุดหงิดโมโหอาละวาดง่าย และทั้งตัวบุคคลออทิสติกและบุคลากรที่ทำงานกับพวกเขามักจะต้องเจ็บตัว-บาดเจ็บกันบ่อยๆ
@การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่
ทำงานกับบุคคลออทิสติก [เจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน] สิ่งหนึ่งที่ทางหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งในระดับพื้นที่และในระดับกระทรวง-ระดับรัฐบาลยังไม่เข้าใจ ก็คือ ประชากรออทิสติกต้องการนวัตกรรมทางด้านบุคลากร ที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ถอดด้ามกับที่ต้องเสริมคุณสมบัติที่ต้องการเข้าไปให้กับบุคลากรที่รับเข้ามาหรือมีอยู่แล้ว กล่าวสำหรับกรณีบ้านพิทักษ์ฯ ที่ยังไม่มีในกรอบงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) ก็จึงต้องเป็นแบบเสริมคุณสมบัติที่พึงประสงค์เข้าไปให้กับบุคลากรที่รับเข้ามาหรือมีอยู่แล้ว โดยการจัดทำโครงการอบรม ซึ่งต้องมีการเสนอของบประมาณหรือเม็ดเงินเพื่อการนี้

@ การคงไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ให้คงอยู่ทำงานกับบุคคลออทิสติกอย่างคงทนถาวรกล่าวเฉพาะ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) ที่รับผิดชอบศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่นที่สมาคมผุ้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่นหวังจะให้พัฒนาและนำร่องบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่นให้ก้คือ กระทรวงนี้ จะต้องเสนอให้มีกรอบอัตรากำลัง บุคลากรที่ทำงานกับบุคคลออทิสติก [เจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน] ที่มีระเบียบวิธีการงบประมาณรองรับอย่างเฉพาะเจาะจง โดยอยู่ในโครงสร้างงบประมาณปกติ ไม่ใช่อยู่ในรูปของเงินอุดหนุนที่ทางสำนักงบประมาณกำหนดให้เป็นการจ้างเหมาชั่วคราวอย่างในปัจจุบัน ที่ไม่จูงใจบุคลากรที่มี "คุณภาพ" อยู่ทำงานอย่างยั่งยืนแต่ทำงานในแบบรอไปสู่งานอื่นที่มีเงื่อนไขมั่นคงและดีกว่า ทำให้การพัฒนาบุคลากรสูญเปล่าและไม่สามารถพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นไปได้

@@[ค่าตอบแทนบุคลากรฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ (แม่บ้าน ๒ คน (วันละ ๓๐๐ บาท/วัน=๙๐๐๐ บาท/เดือน) ๑๘,๐๐๐ บาท/เดือน ภารโรงคน/คนขับรถ ๑ คน ๙๐๐๐ บาท/เดือน คนสวน ๑ คน ๙๐๐๐ บาท/เดือน) = ๓๖,๐๐๐ บาท/เดือน (เจ้าหน้าฝ่ายงานบ้านพิทักษ์/ ๔ คน /ทีมอำนวยการและสอนนอกเวลา ๑๕,๐๐๐ บาท/คน)= ๖๐,๐๐๐ บาท/เดือน]รวม ๙๖,๐๐๐ บาท/เดือน= ๑,๑๕๒,๐๐๐ บาท/ปี

@@[ค่าอาหารของบุคคลออทิสติกที่อยู่ประจำ ๒๔ ชม.และค่าอาหารบุคลากรที่อยู่เวรนอกเวลา ๒ มื้อเช้า-เย็น มื้อละ ๔๐ บาท ประมาณ ๘ คน รวม ๖๔๐ บาท/วัน ครู ๖ คน-ครูเวร มื้อละ ๔๐ บาท/คน/มื้อ ๒ มือ รวม ๔๘๐ บาท/วัน รวมหมดต่อวัน ๑,๑๒๐ บาท/วัน= ๔๐๘,๘๐๐ บาทปี]

๔/
โครงการพัฒนาด้านระบบบริหารจัดการ "บ้านพิทักษ์ฯ"

เพื่อการเป็น "กลไก/หน่วยงาน" ปกติในโครงสร้างของรัฐ [เพื่อให้เป็นหน่วยงาน "ต้นแบบ" ของ ภาครัฐเพื่อเข้าสู่โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต.)] เนื่องจากบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่น ในเบื้องต้น ณ ปัจจุบันไม่ได้เริ่มจากศูนย์เหมือนในอดีต แต่จะต่อยอดจากศูนย์บริการบุคคลออทิสติกฯ ที่เบี่ยงเบนมาจาก บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนครขอนแก่น ตามเจตนารมณ์เดิมของกลุ่มผู้ปกครองที่ผลักดันก่อตั้ง เมื่อมาเริ่มต้นใหม่อีกในครั้งนี้จึงให้เป็นงานฝ่ายหนึ่ง ของ ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกฯ ให้เป็น "ฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน" (ไปก่อน?)

@ฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน
@@บุคลากรฝ่ายงานบ้านพิทักษ
์ฯ
-เจ้าหน้าที่หัวหน้าฝ่าย ๑ คน; ดูแลงานของฝ่ายงานบ้านพิทักษ์
ฯ ในภาพรวมและประสานงานกับส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องรู้งานรู้ข้อมูลอย่างละเอียด มีอำนาจสั่งงานเจ้าหน้าที่ทุกคนในฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ
-เจ้าหน้าที่รองหัวหน้าฝ่าย
๑ คน; ช่วยงานหัวหน้าฝ่ายโดยเน้นด้านสถานที่และแผนการจัดกิจกรรม
-แม่บ้าน ๑ คน;งานบ้าน งานความสะอาด งานครัว งานซักรีดเสื้อผ้าบุคคลออทิ
สติก
-เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานบ้านพิท
ักษ์ฯ ๔ คน
[นักพัฒนาสังคม, นักสังคมสงเคราะห์, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, นักพัฒนาศักยภาพบุคคลที่มีค
วามต้องการจำเป็นพิเศษ(ออทิสติก), นักพัฒนาศักยภาพของมนุษย์(ออทิสติก)/เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ จะเป็นนักอะไรดี?][นักพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตมนุษย์(ออทิสติก)]
รวมบุคลากรของฝ่ายบ้านพิทัก
ษ์ฯ จำนวน ๗ คน [เป็นเจ้าหน้าที่ ๖ คน แม่บ้าน ๑ คน]

@@หน้าที่ฝ่ายงานบ้านพิทัก์ฯ
๑.ดูแลบุคคลออทิสติกที่อยู่
ตลอด ๒๔ ชม. ทั้งแบบชั่วคราวและแบบประจำ
๒.ลงทะเบียนรับและจำหน่ายบุ
คคลออทิสติกที่มาใช้บริการของฝ่ายบ้านพิทักษ์ฯ
๓.วางแผนกิจกรรมพัฒนาศักยภา
พบุคคลออทิสติกนอกเวลาทำการและจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกนอกเวลาทำการตามแผนสำหรับบุคคลออทิสติกที่มาใช้บริการที่อยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมงแบบชั่วคราว
๔.จัดทำหลักสูตรคู่ขนานเฉพา
ะบุคคลออทิสติก(Autistic Individual Parallel Curriculum) [หลักสูตรเวลาราชการคู่ขนานกับหลักสูตรนอกเวลาราชการ],แผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual Developmental Potential Plan / IDP) และ แผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคลออทิสติก (Individual Implementation Developmental Potential Plan /IIDP) สำหรับบุคคลออทิสติกที่มาใช้บริการอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมงแบบประจำ
๕.รับผิดชอบดูแลเรื่องสุขอามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการใช้ยาของบุคคลออทิสติกที่มาใช้บริการ ๒๔ ชั่วโมง
๖.ดูแลรักษาทรัพย์สินของฝ่า
ยทั้งที่เป็นวัสดุและครุภัณฑ์
๗.ดูแลอำนวยการเรื่องความสะ
อาดและความปลอดภัยของสถานที่
๘.ดูแลอำนวยการเรื่องความสะ
อาดของเสื้อผ้าที่หลับที่นอนข้าวของเครื่องใช้ของบุคคลออทิสติกและของเจ้าหน้าที่เอง
.ดูแลเรื่องอาหารการกินของบุคคลออทิสติกและของเจ้าหน้าที่ที่อยู่เวร/การอยู่เวรให้อยู่เป็นทีมตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
หมายเหตุ; ข้อ ๗- ถือเป็นกิจกรรมนำฝึกประจำอยู่ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพหรือหลักสูตรคู่ขนานของบุคคลออทิสติกด้วย

@@เวลาทำการของฝ่ายงานบ้านิทักษ์ฯ
๑.เปิดทำการทุกวันตลอด ๒๔ ชั่วโมงไม่มีวันหยุด
๒.เจ้าหน้าที่ทุกคนยกเว้นแม
่บ้านต้องอยู่เวรวันเว้นวัน โดยเจ้าหน้าที่ ๖ คน แบ่งออกเป็น ๒ ทีม ผลัดกันอยู่เวรกลางคืนและวันหยุด การหยุดของเจ้าหน้าที่ให้เวียนกันหยุดให้เหมาะสมโดยไม่รบกวนหรือเป็นอุปสรรคกับงานของฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ
@@ คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายบ้าน
พิทักษ์ฯ
มีผู้อำนวยการศูนย์บริการฯ เป็นประธาน,มีผู้ปกครองบุคค
ลออทิสติกจาก "กลุ่มผู้ปกครองบุคคลออทิสติกเพื่อบ้านพิทักษ์ฯ ๒๔ ชั่ว ๓๖๕ วัน" จำนวน ๓-๕ คนเป็นกรรมการร่วม, มีเจ้าหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบ้านพิทักษ์ฯ และรองฯ เป็นกรรมการ, และบุคลากรศูนย์บริการฯ อีกจำนวนหนึ่งเป็นกรรมการ มีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ช่วยเหลือประเมินกำหนดเกี่ยวกับ "ฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ"
@@ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ฝ่าย
บ้านพิทักษ์ฯ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานบ้านพิทั
กษ์ฯ มีภาระงานแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการฯ เพราะฝ่ายงานบ้านพิทักษ์ฯ เปิดทำการทุกวันไม่มีวันหยุ

@@วิธีการงบประมาณ
๑.ต้องมีงบหมุนเวียน-งบดำเดินการ; ค่าอาหารบุคคลออทิสติกและเจ
้าหน้าที่, ค่าวัสดุสิ้นเปลือง(เช่น วัสดุทำความสะอาด น้ำยา ผงซักฟอก วัสดุสำนักงาน ฯลฯ)
๒.ต้องมีงบประมาณสำหรับการจ
ัดกิจกรรมนอกเวลาทำการ
๓.ต้องมีค่าตอบแทนพิเศษ เช่น "ค่าอยู่เวร"/
อาจะจ่ายแบบเหมาเป็นเดือน(?), ค่าตอบแทนพิเศษ "หัวหน้าฝ่าย" และรอง ที่ต้องรับภาระงานมากกว่าเจ้าหน้าที่ปกติ
๔.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ต้องไม่เป็นการจ้างเหมาต้องเป็น "เงินเดือน" ที่จะต้องได้รับเป็นประจำทุกเดือนและตรงเวลา เช่นเดียวกับเงินเดือนของข้าราชการ" และ "ลูกจ้างประจำ" และ "พนักงานของรัฐ" ฯลฯ
๕.ต้องมีงบประมาณสำหรับการพ
ัฒนายกระดับศักยภาพของเจ้าหน้าที่รวมทั้งงบประมาณให้เจ้าหน้าทำวิจัยภาคสนามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖.มีงบประมาณด้านสถานที่/
ทั้งการดัดแปลงสถานที่และการจัดสถานที่ให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมนอกเวลา
หมายเหตุ:
๑.ขณะนี้สำนักงบประมาณ/
กรมบัญชีกลาง-กระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) ใช้วีการงบประมาณแบบ "จ้างเหมาจ่าย" เหมือนจ้าง "บริษัทเอกชนมาทำงานความสะอาด" ฯลฯ ซึ่งทำให้บุคคลออทิสติกไม่ได้ บุคลากรที่มี "คุณภาพ" มาทำงานด้วย และไม่อาจพัฒนายกระดับศักยภพของบุคลากรได้และไม่เป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่ทำงานกับบุคคลออทิสติก ซึ่งวิธีการงบประมาณเช่นนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเสนอให้ทางสำนักงบประมาณ/กรมบัญชีกลาง-กระทรวงการคลัง แก้ไข
๒.ต้องเร่งให้มีการตั้งคณะก
รรมการร่วมระหว่างภาคผู้ปกครองฯกับภาครัฐ/ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการแก่บุคคลออทิสติก/เพื่อวางกรอบอัตราบุคลากรที่จะทำงานทางด้านประชากรออทิสติกของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) เพราะขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) ซึ่งมีฐานมาจากกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยมีแต่ตำแหน่งนักพัฒนาสังคม, นักประชาสงเคราะห์ เท่านั้น และการจะเอานักจิตวิทยา,นักกิจกรรมบำบัด,ครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งเป็นบุคลากรของบริบทกระทรวงอื่นน่าจะไม่สอดคล้อง ในบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) น่าจะเป็น นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, นักพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสำหรับประชากรที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เช่นนี้ น่าจะเหมาะสมและตรงกับภาระงานจริงในบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พ.ม.) มากกว่า

๕/โครงการพัฒนากฎ เกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และ วิธีการงบประมาณสำหรับบ้านพิทักษ์ฯเพื่อเป็นกฎหมายระดับต่างๆ รองรับการเป็น "หน่วยงาน" ในโครงสร้างของรัฐเพื่อเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติ
@เรื่องระเบียบวิธีการงบประ
มาณเกี่ยวกับศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดฯ และ บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน มีเรื่องที่ต้องปรับใหม่ให้เข้ากับภาระงานทที่ต้องทำเพื่อบุคคลออทิสติกในบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ดังนี้
๑. เรื่องค่าอาหารกลางวันสำหรั
บบุคคลออทิสติกที่มารับบริการแบบไป-กลับ และ ค่าอาหารครบทั้ง ๓ มื้อ สำหรับบุคคลออทิสติกที่มารับบริการ ๒๔ ชั่วโมง
๒. ค่าตอบแทนบุคลากร-เจ้าหน้าท
ี่ที่ทำงานกับบุคคลออทิสติก ควรปรับให้ยุติธรรมกับความยากลำบากของภาระงานที่ทำกับบุคคลออทิสติก เช่น อาจมีค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มจากค่าตอบแทนปกติ
๓. ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำ
การ เช่น การอยู่เวรวันหยุด หรือ กลางคืน เป็นต้น
@เรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติภ
าระหน้าที่ของบุคลากร-เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดฯ และ บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
๑) ต้องมีการกำหนดกรอบอัตราส่ว
นระหว่างบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ทำการฝึกฝนพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกกับบุคคลออทิสติกให้อยู่ในสัดส่วนที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกได้อย่างเต็มตามศักยภาพของเขาซึ่งอาจล้อกับที่กระทรวงศึกษาธิการใช้ คือ บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ๒ คน ต่อบุคคลออทิสติก ๓ คน, บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ๒ คนต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(LD),บุคคลสมาธิสั้นและอื่นๆ ๕-๗ คน เป็นต้น
๒)ต้องมีการกำหนดกรอบคุณสมบัติ ของ บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ที่จะ
ป็นผู้พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ทั้ง ด้านองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องรู้ และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม
๓)ต้องมีการกำหนดอัตราตำแหน่งที่เฉพาะเจาะสำหรับบุคลาก
รหรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกในบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ อยู่ในโครงสร้างของระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.พ) เช่น นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์(ออทิสติก), นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

 

รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น ๕,๘๖๐,๘๐๐ บาท