ห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเเรียนคู่ขนานออทิสติกในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน และ ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน


@ห้องเเรียนคู่ขนานออทิสติกใ
นโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน

นิยาม : ระบบจัดการทางการศึกษาในระด
ับปฐมวัย[อนุบาล]และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [12 เกรด] ในสิ่งแวดล้อมของเด็กปกติในระดับอายุช่วงชั้นเดียวกัน อย่างเป็นทางการ สำหรับบุคคลออทิสติกศักยภาพต่ำ และบุคคลออทิสติกศักยภาพสูงที่ยังไม่เคยได้รับการกระตุ้นพัฒนาการมาก่อนเลย ที่บูรณาการกิจกรรมการบำบัดด้านกายภาพทางการแพทย์และกิจกรรมด้านการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นกิจกรรมที่สร้างและต่อยอดทุกทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมคนปกติขึ้นไปจากฐานศักยภาพของบุคคลออทิสติกแต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจง

องค์ประกอบ :

1 สถานที่ ; ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จะต้องมีสถานที่อย่างเฉพาะเ
จาะ เป็นห้องเรียน อยู่ในอาคารหรือสิ่งแวดล้อมเดียวกันกับห้องเรียนของนักเรียนปกติในระดับอายุช่วงชั้นเดียวกันกับนักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของคนออทิสติก ที่สามารถจะเชื่อมต่อกับธรรมชาติของคนปกติได้

2 บุคลากร ; ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกะก
ารบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก จะต้องประกอบด้วย

2.1 บุคลากรครูผู้อำนวยการห้องเ
รียนคู่ขนานฯ จากทีมบุคลากรครูผู้บริหารของโรงเรียน ที่จะเป็นกลไกการเชื่อมต่อระหว่างระบบบริหารจัดการของห้องเรียนคู่ขนานฯ กับระบบบริหารจัดการของโรงเรียนทั้งโรงเรียน
2.2 บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก ซึ่งต้องเป็นทีมเท่านั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนออทิสติกจึงจะเป็นไปได้ ทีมครูประจำชั้นห้องเรียนคู่ขนานฯ จะต้องอยู่ในอัตราส่วน นักเรียนทิสติก ๓ คน : บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก ๒ คน หรือ นักเรียนทิสติก ๕ คน : บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก ๓ คน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนออทิสติกอย่างได้ประสิทธิผลจึงจะเป็นไปได้ เช่นกัน

2.3 บุคลากรครูผู้สอนร่วม เป็นบุคลากรครูผู้สอนนักเรี
ยนปกติอยู่แล้ว แต่เพิ่มการสอนนักเรียนออทิสติกเข้าไปด้วย เช่น บุคลากรครูประจำชั้นห้องเรียนของนักเรียนปกติ บุคลากรครูผู้สอนประจำรายวิชา ฯลฯ ที่นักเรียนออทิสติกเข้าไปเรียนรวมด้วย

2.4 นักเรียนปกติ "ห้องเรียนคู่หู" [ ห้องเรียนบัดดี้ ของ นักเรียนออทิสติกแต่ละคน], "กลุ่มเพื่อนคู่หู" [กลุ่มเพื่อนบัดดี้ในห้องเร
ียนบัดดี้], "เพื่อนคู่หู" [บัดดี้ของนักเรียนออทิสติกแต่ละคน]

3 นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าห
มาย ; นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมายในห้องเรียรคู่ขนาน คือ ๓ คน หรือต้องไม่เกินห้องละ ๕ คน

4 กระบวนการบริหารจัดการ ; ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จะต้องประกอบด้วยกระบวนการด
งต่อไปนี้

4.1 กระบวนการจัดเตรียมสถานที่ท
ี่จะใช้เป็น "ห้องเรียนคู่ขนานฯ"

4.2 กระบวนการจัดทำหลักสูตรคู่ข
นานเฉพาะบุคคล

4.3 กระบวนการบริหารหลักสูตรคู่
ขนานเฉพาะบุคคล

4.4 กระบวนการจัดทำแผนการศึกษาเ
ฉพาะบุคคล

4.5 กระบวนการจัดทำแผนการสอนเฉพ
าะบุคคล
4.6 กระบวนการวัดผลประเมินผลและประกันคุณภาพ

4.7 กระบวนการจัดตั้งและอบรมบ่ม
เพาะยุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคลากรครูผู้สอนและเพื่อนคู่หู

4.8 กระบวนการจัดวางระบบ ๓ ระบบ ดังต่อไปนี้

4.8.1 ระบบเชื่อมต่อ ; เชื่อมต่อกิจกรรมการเรียนกา
รสอนของห้องเรียนคู่ขนานฯ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปี ของ ระบบใหญ่ทั้งระบบ ของโรงเรียน

4.8.2 ระบบส่งต่อ ; ส่งต่อนักเรียนออทิสติกไปเร
ียนรวมหรือทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ

4.8.3 ระบบถ่ายโอน ; ถ่ายโอนนักเรียนออทิสติกที่
ระดับศักยภาพทางวิชาการ และศักภาพทางพฤติกรรม สามารถจะเรียนรวมกับอยู่กับนักเรียนปกติ ได้มากกว่าร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด จากห้องเรียนคู่ขนานฯ ไปยัง "ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ" สำหรับนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูง นักเรียนแอลดี และนักเรียนสมาธิสั้น [ประกอบด้วยระบบการถ่ายโอนระยะต้น ระยะกลาง และระยะสุดท้าย ที่จะเป็นการถ่ายไปอย่างเด็ดขาด]

5 กิจกรรม ; กิจกรรมการเรียนการสอนในห้อ
งเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จะต้องเป็นกิจกรรมที่บูรณาการ เอากิจกรรมการบำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ กับกิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อกับกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนปกติที่เกี่ยวข้อง ด้วย "ใบงาน" ที่ทีมบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกประจำห้องเรียนคู่ขนานฯ ต้องจัดทำขึ้น ในขั้นตอนของระบบ "ส่งต่อ" และ "ถ่ายโอน" นักเรียนออทิสติกไปเรียนรวมหรือไปทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ [เกี่ยวกับกิจกรรมจะไปกล่าวอย่างละเอียดไว้ในหัวข้อ "หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกฯ"]


@ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษา
พิเศษ ในโรงเรียนทั่วไป ในชุมชนใกล้บ้าน

นิยาม : ระบบจัดการทางการศึกษาในระด
ับปฐมวัย[อนุบาล]และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [12 เกรด] ในสิ่งแวดล้อมของเด็กปกติในระดับอายุช่วงชั้นเดียวกัน อย่างเป็นทางการ สำหรับบุคคลออทิสติกศักยภาพสูง บุคคลแอลดี บุคคลสมาธิสั้น และบุคคลที่มีความแตกต่างในโครงสร้างการทำงานของสมองแบบอื่นๆ อันใกล้เคียงกัน
องค์ประกอบ :

1 สถานที่ ; ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพ
ิเศษฯ จะต้องมีสถานที่อย่างเฉพาะเจาะ เป็นห้องเรียน อยู่ในอาคารหรือสิ่งแวดล้อมเดียวกัน กับห้องเรียนของนักเรียนปกติในระดับอายุช่วงชั้นเดียวกันกับนักเรียนออทิสติกศักยภพสูงและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพื่อที่สามารถจะเชื่อมต่อกับธรรมชาติและระบบปกติของคน(นักเรียน)ปกติได้

2 บุคลากร ; ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกะก
ารบริหารจัดการห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ จะต้องประกอบด้วย

2.1 บุคลากรครูผู้อำนวยการห้องเ
รียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ จากทีมบุคลากรครูผู้บริหารของโรงเรียน ที่จะเป็นกลไกการเชื่อมต่อระหว่างระบบบริหารจัดการของห้องเรียนคู่ขนานฯ กับระบบบริหารจัดการของโรงเรียนทั้งโรงเรียน[อาจเป็นคนเดียวกับห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก....นั่น หัวหน้าฝ่ายห้องเรียน "นักเรียนพิเศษ" ของทั้งโรงเรียน นั่นเอง]

2.2 บุคลากรครูผู้สอนเสริมกลุ่ม
สาระต่างๆ ซึ่งต้องเป็นทีมเท่านั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนออทิสติกจึงจะเป็นไปได้ ทีมครูประจำชั้นห้องเรียนคู่ขนานฯ จะต้องอยู่ในอัตราส่วน นักเรียนทิสติกศักยภาพสูง ๓-๕ คน : บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา ๒ คน หรือ นักเรียนทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา ๕-๑๐ คน : บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก ๓ คน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา อย่างได้ประสิทธิผลจึงจะเป็นไปได้

2.3 บุคลากรครูผู้สอนร่วม เป็นบุคลากรครูผู้สอนนักเรี
ยนปกติอยู่แล้ว แต่เพิ่มการสอนนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงเข้าไปด้วย เช่น บุคลากรครูประจำชั้นห้องเรียนของนักเรียนปกติ บุคลากรครูผู้สอนประจำรายวิชา ฯลฯ ที่นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา จะต้องเข้าไปเรียนรวมด้วย2.4 นักเรียนปกติ "ห้องเรียนคู่หู" [ ห้องเรียนบัดดี้ ของ นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา แต่ละคน], "กลุ่มเพื่อนคู่หู" [กลุ่มเพื่อนบัดดี้ในห้องเรียนบัดดี้], "เพื่อนคู่หู" [บัดดี้ของนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา แต่ละคน]

3 นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าห
มาย ; นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมายในห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ คือ ๕ คน หรือต้องไม่เกินห้องละ ๑๐ คน

4 กระบวนการบริหารจัดการ ; ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จะต้องประกอบด้วยกระบวนการด
งต่อไปนี้

4.1 กระบวนการจัดเตรียมสถานที่ท
ี่จะใช้เป็น ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ

4.2 กระบวนการจัดทำหลักสูตรคู่ข
นานเฉพาะบุคคล[เฉพาะกลุ่มสาระที่ต้องสอนเสริม]

4.3 กระบวนการบริหารหลักสูตรคู่
ขนานเฉพาะบุคคล[เฉพาะกลุ่มสาระที่ต้องสอนเสริม]

4.4 กระบวนการจัดทำแผนการศึกษาเ
ฉพาะบุคคล

4.5 กระบวนการจัดทำแผนการสอนเฉพ
าะบุคคล[เฉพาะกลุ่มสาระที่ต้องสอนเสริม]

4.6 กระบวนการวัดผลประเมินผลและ
ประกันคุณภาพ

4.7 กระบวนการจัดตั้งและอบรมบ่ม
เพาะยุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคลากรครูผู้สอน ครูผู้สอนร่วม ครูผู้สอนเสริมฯ และเพื่อนคู่หู

4.8 กระบวนการจัดวางระบบ ๓ ระบบ ดังต่อไปนี้

4.8.1 ระบบเชื่อมต่อ ; เชื่อมต่อกิจกรรมการเรียนกา
รสอนของห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปี ของ ระบบใหญ่ทั้งระบบ ของโรงเรียน4.8.2 ระบบส่งต่อ ; ส่งต่อนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขาไปเรียนรวมหรือทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ

4.8.3 ระบบถ่ายโอน ; ถ่ายโอนนักเรียนออทิสติกศัก
ยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขาที่ระดับศักยภาพทางวิชาการ และศักภาพทางพฤติกรรม สามารถจะเรียนรวมกับอยู่กับนักเรียนปกติ ได้มากกว่าร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด จากห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ ไปยัง ห้องเรียนบัดดี้ ของ นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา แต่ละคน [ประกอบด้วยระบบการถ่ายดอนระยะต้น ระยะกลาง และระยะสุดท้าย ที่จะเป็นการถ่ายไปอย่างเด็ดขาด แต่ระบบช่วยเหลือยังคงอยู่เพื่อพวกเขาเสมอ]

5 กิจกรรม ; กิจกรรมการเรียนการสอนในห้อ
งเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ จะต้องเป็นกิจกรรมที่บูรณาการ เอากิจกรรมการบำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ กับกิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อกับกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนปกติที่เกี่ยวข้อง ด้วย "ใบงาน" ที่ทีมบุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกประจำห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ ต้องจัดทำขึ้น ในขั้นตอนของระบบ "ส่งต่อ" และ "ถ่ายโอน" นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา แต่ละคนไปเรียนรวมหรือไปทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ [เกี่ยวกับกิจกรรมจะไปกล่าวอย่างละเอียดไว้ในหัวข้อ "หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา" แต่ละคน] แบบเดียวกับที่บุคลากรครูผู้สอนประจำห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ ต้องทำ แต่แตกต่างกันตางที่อาจจะทำเฉพาะกลุ่มสาระหรือเนื้อที่ต้องสอนเสริมเท่านั้น

เจ้าภาพในการดำเนินการ : โรงเรียนปกติทุกโรงเรียนในป
ระเทศนี้ที่มีนักเรียนออทิสติกและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเจ้าภาพระดับกระทรวงคือ....สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อการพัฒนาห้องเรียนทั้งสองรูปแบบนี้ให้ได้มาตรฐาน และถ้าจะให้มีผลในทางปฎิบัติเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ควรเป็นประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้และมีอำนวยการสำนักบริหารการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการเลขานุการคนที่หนึ่ง และหัวหน้าการหน้าห้องของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรรมการเลขานุการคนที่สอง

สรุป : ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และ ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษ ในโรงเรียนทั่วไป ในชุมชนใกล้บ้านจึงเป็น รูปแบบและกระบวนการบริหารจั
ดการทางการศึกษาพิเศษ สำหรับประชากรออทิสติก แอลดี และสมาธิสั้น ที่จะทำให้ วิบากกรรมของพวกเขาและครอบครัว เปลี่ยนโฉมหน้าไป อย่างแทบจะสิ้นเชิง โดยเฉพาะวิบากกรรม ในการที่จะต้องสาระวนเฮโรสาระพาทุรักทุเร "หอบหิ้ว" ลูกหลานไปบำบัดกับนักบำบัดต่างๆ บรรดามี ชม. ละ สามร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง ฯลฯ จนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะไม่มีแม้กระทั่งเวลาจะทำมาหากิน ถ้าไม่ผูกขาล่ามโซ่ลูก ไว้ใต้ถุนบ้าน แล้วก็ ลงท้ายด้วย การเป็นโรคประสาทกันไปทั้งบ้าน เพราะแบกรับภาระไม่ไหว หรือ ไม่ก็ครอบครัวแตกสลายเอาลูกหลานไป ปล่อยทิ้งไว้กับตายายในชนบท ซึ่ง มีน้อยมาก ที่ออทิสติก ที่ถูกทอดทิ้งจะแก่ตาย มักป่วยตาย ตกน้ำตาย รถชนตาย ฯลฯ สำหรับออทิสติก สำหรับแอลดี ก็อาจฆ่าตัวตาย [ซึมเศร้า] หรือถูกฆ่าตาย [เป็นแพะรับบาป] พวกสมาธิสั้น ก็อาจตีกันตาย [หุนหันพลันแล่น] ติดคุกติดตาราง [เป็นผู้ร้าย] ฯลฯ

วิบากกรรมต่างๆ ใดๆ เหล่านี้ ของประชากรกลุ่มนี้ และครอบครัว จะหมดไป หรืออย่างน้อย ก็บรรเทาเบาบางลง หาก ระบบการศึกษาไทย สามารถจะสถาปนาและพัฒนา ห้องเรียนทั้งสองรูปแบบ ดังกล่าวนี้ เข้าไปใน โครงสร้างของโรงเรียนปกติ ในขอบเขต ทั่วประเทศได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างได้ประสิทธิผลฤ